เมนู

ประกอบความในการพิจารณาข้อปฏิบัติส่วนตน ดังกล่าวมานี้ ส่วนในการให้
โอวาทแก่ผู้อื่น พึงประกอบความโดยการสร้างประโยคว่า ต้องอยู่ คือ ไม่หลีกไป
ดังนี้.
บทว่า น เตฺววานตฺถสํหิตํ วเส วาสํ วิจกฺขโณ ความว่า
ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ คือผู้มีชาติแห่งวิญญูชน ประสงค์จะบำเพ็ญประโยชน์
ตนให้บริบูรณ์ ก็ไม่พึงอยู่ประจำอาวาสอันประกอบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
ในพระธรรมวินัยนี้ เพราะการทำคำอธิบายว่า ในอาวาสใดมีปัจจัยหาได้ง่าย
สมณธรรมย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ในอาวาสนั้น และในอาวาสใด ปัจจัยหาได้
ยาก แม้สมณธรรมก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ในอาวาสนั้น อาวาสเห็นปานนี้ ชื่อว่า
ประกอบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ คือ ประกอบไปด้วยความไม่เจริญงอกงาม
ในพระธรรมวินัยนี้ อธิบายว่า ก็ในที่ใดภิกษุได้อาวาสประกอบด้วยองค์ 5
ย่อมชื่อว่าได้สัปปายะแม้ทั้ง 7 ด้วย พึงอยู่ประจำในอาวาสนั้นแหละ.
จบอรรถกถามลิตวัมภเถรคาถา

6. สุเหมันตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสุเหมันตเถระ


[243] ได้ยินว่า พระสุเหมันตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
คนโง่เขลา มักเห็นเนื้อความอันมีความหมาย
ตั้งร้อย ทรงไว้ซึ่งลักษณะตั้งร้อย ว่ามีความหมายและ
ลักษณะเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนคนฉลาดย่อมเห็น
ได้ตั้งร้อยอย่าง
ดังนี้.

อรรถกถาสุเหมันตเถรคาถา


คาถาของท่านพระสุเหมันตเถระเริ่มต้นว่า สตลิงฺคสฺส อตฺถสฺส.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ เป็น
พรานอยู่ในป่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ติสสะ ใน
กัปที่ 92 แต่ภัทรกัปนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าไปสู่ป่า เพื่อจะทรง
อนุเคราะห์เขา จึงประทับนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง ในที่ใกล้เขา. เขาเห็นพระผู้มี-
พระภาคเจ้าแล้ว มีจิตเลื่อมใส เลือกเก็บดอกบุนนาค ที่มีกลีบหอมมาบูชา
พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้ว ท่องเที่ยว
ไป ๆ มา ๆ ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์ผู้สมบูรณ์
ด้วยสมบัติ ในถิ่นชายแดน ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า สุเหมันตะ.
เขาถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประทับอยู่ที่
มฤคทายวัน ในสังกัสสนคร ฟังธรรมแล้ว ได้เป็นผู้มีจิตศรัทธา บวชแล้ว
เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก เริ่มตั้งวิปัสสนา ได้เป็นผู้มีอภิญญา 6 ถึงความเชี่ยว
ชาญแตกฉานในปฏิสัมภิทาต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าว
ไว้ในอปทานว่า
เราเป็นนายพราน เข้าไปสู่ป่าใหญ่ เห็นดอก
บุนนาคกำลังบาน จึงระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ
สุด ได้เก็บเอาดอกบุนนาคนั้น อันมีกลิ่นหอมตลบ